บล็อก
-
1) มาตรฐานบังคับคืออะไรกฏระเบียบมกอช. มีอำนาจ (ตาม พรบ. มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551) ในการออกมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร โดยอาจทำเป็นมาตรฐานทั่วไปหรือมาตรฐานบังคับ ซึ่งความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน 2 ประเภทนี้ ก็คือ วัตถุประสงค์ในการใช้ โดยหลักแล้ววัตถุรประสงค์ในการกำหนดมาตรฐานทั่วไปก็คือ เพื่อ “ส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน”
-
ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 มีการเผยแพร่เอกสารกึ่งวิชาการ “ปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิด ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษดีกว่าไหม” ที่เขียนโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ และจัดพิมพ์โดยภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เอกสารเล่มดังกล่าวได้พยายามอธิบายถึงความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ในด้านต่างๆ โดยอ้างอิงข้อมูลงานวิจัย เพื่อแสดงให้เห็นว่า
-
ปัจจัยสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการเพาะปลูกพืชมีอยู่ 6 ปัจจัยสำคัญ คือ (1) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ (2) การจัดการน้ำในแปลงเพาะปลูก (3) การจัดการอินทรียวัตถุในไร่นา (4) การจัดการหน้าดิน โดยเฉพาะการไถพรวน (5) การใช้พลังงานฟอสซิลในแปลง และ (6) การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ของที่ดินก่อนหน้า"นาข้าวเกษตรอินทรีย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด"
-
ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศ ซึ่งประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วนต่างก็เล็งเห็นความสำคัญของการปฏิรูปประเทศในแทบทุกด้าน ทั้งการเมือง การศึกษา ระบบราชการ และการเกษตร ระบบการเกษตรของประเทศไทยประกอบด้วยเกษตรกรรายย่อย (เกษตรกรที่ใช้แรงงานครอบครัวเป็นหลัก) ซึ่งในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ได้ประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งการสูญเสียการเข้าถึงที่ดินการเกษตร
-
ในปี พ.ศ. 2557 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีสากลสำหรับเกษตรกรรมแบบครอบครัว (International Year of Family Farming) สำหรับคนไทย เมื่อกล่าวถึงเกษตรกรรมแบบครอบครัว (family farm) หรือฟาร์มครอบครัว (ที่จริงคำว่า "เกษตรกรรายย่อย" ดูจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน) คนทั่วไปมักนึกถึงฟาร์มที่ครอบครัวเกษตรกรเป็นเจ้าของและใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก แต่บางคนที่ให้ความสำคัญกับการถือครองที่ดิน